ผ้าไทย

ผ้าไทย


     "ผ้าไทย" มรดกทาวัฒนธรรมอันล้ำค่า และเป็นเอกลักษณ์ของไทย ที่ได้มีการถ่ายทอดจากบรรพชนสู่สังคมในยุคปัจจุบัน

**********************************************************************

ผ้าซิ่นตีนจก 


                      คือ ผ้าซิ่นที่มีโครง3ส่วน คือส่วนหัว ส่วนตัว และส่วนตีน ที่ทอด้วยกลวิวิธีจก การต่อเชิง (ตีนซิ่น) มีลวดลายพิเศษต่างจากผ้าซิ่นที่ใช้ในชีวิตประจำวันทั่วไป ลวดลายจกที่นำไปปต่อลายซิ่มนั้น เรียกว่า ตีนจก 

กรรมวิธีการทอผ้าจกเป็นการทอและปักผ้าไปพร้อมๆกัน จกคือการทอลวดลายบนพื้นผ้าด้วยวิธีการ เพิ่มด้ายเส้นพุ่งพิเศษเข้าไปเป็นช่วงๆ ไม่ได้ติดต่อกันตลอด หน้ากว้างของผ้า การจกใช้ไม้หรือขนเม่นหรือนิ้วก้อย ยกขึ้นจกเส้นได้สีต่างๆขึ้นมาบนเส้นยืน ให้เกิดลวดลาย

ผ้าตีนจกแบบดั้งเดิมนั้นมาจากกลุ่มไทยวน นิยมใช้ผ้าฝ้ายย้อมสีธรรมชาติสำหรับจก การจกลวดลายซึ่งค่อนค้างแน่น ด้ายเส้นยืนสีดำเป็นพื้นที่สำหรับลวดลายจก ส่วนเส้นยืนสีแดงใช้เป็นพื้นที่สำหรับเล็บ ส่วนช่วงล่างสุดของตีนจกจะไม่มีลายจก ยกเว้นจะเป็นลวดลายเส้นเล็กๆ สีขาว-ดำ เรียกว่า หางสะเปา







ผ้าทอมัดหมี่

        ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบันคงจะปฏิเสธไม่ได้ว่าเครื่องนุ่งห่มนั้นมีความสำคัญต่อมนุษย์เราเป็นอย่างมาก จนถึงขั้นเป็น1ในปัจจัย4 และในเว็บนี้เราก็ได้นำเสนอเครื่องนุ่งห่มที่มีคุณค่าทางวัฒนธรรมของไทยเราอย่างมากนั่นก็คือผ้ามัดหมี่นั่นเอง


         ผ้ามัดหมี่นั้นมีการทอที่ต้องใช้ความประณีตอย่างมาก ความอด ความคิดสร้างสรรค์เป็นองค์ประกอบหลักอย่างยิ่ง ลายผ้าต่างๆก็เป้นลายที่ได้มากจากสิ่งแวดล้อมชีวิตประจำวันของผู้ทอทั้งสิ้นมีความแตกต่างกันไปพื้นที่ สีสันที่นำมาใช้ของเป็นสีที่ได้จากธรนมชาติทั้งสิ้นแต่ในยุคนี้จะนิยมการใช้สีจากเคมีเพราะติดง่านติดทนและติดไว





        ภาพด้านขวามือเป็นภาพของหลอดด้ายที่ช่างทอจะใส่กับกระสวยเพื่อใช้ในการทอ ด้ายแต่ละหลอดก็จะผ่านกรรมวิะีต่างมากมายกว่าจะได้สีได้เส้นที่ต้องการ สีบนด้ายแต่ละเส้นถูกกำหนดลายมาล้วโดยตัวผู้ย้อม พอช่างทอเห็นสีด้ายจะรู้ได้ทันทีเลยว่าเป็นลายไหน

       เครื่งที่ใช้ในการทอมีภาษาเรียกว่า "กี่กระตุก" ในปัจจุบันหาชมได้ยากมากเพราะว่าทุกที่หันมาใช้เครื่องจักรแทนแรงงานคนเพราะมีความรวดเร็วกว่า อย่างรูปนี้แอดมินได้ไปถ่ายมาจากจังหวักลพบุรี อำเภอบ้านหมี่ เหลือคุณยายสำรวยอยู่ท่านเดียวที่ยังทอกี่กระตุกอยู่ เรามาฟังเสียงสำภาษณ์ของคุณยายกันดีกว่าคะ

          เห็นคลิปสัมภาษณ์และการทอของคุณยายแล้วเรียกว่าคุณยายนั้นใจเย็นและมีความอดทนสูงมากๆเลยนะคะ คุณยายมีใจรักจริงๆในอาชีพนี้มีความสุขที่ได้ทอผ้า แม้เราจะเป็ยคนรุ่นใหม่เราก็สามารถทำได้นะคะ อยากในทุกๆคนที่ได้ชมเว็บบล็อคนี้หันมาเห็นคุณค่า ความสำคัญของผ้าไทย นำมาปรับให้เข้ากับยุคสมัยและช่วยกันสนับสนุนให้ผ้าไทยเป็นที่รู้จักไปทั่วโลก  ผ้าไทยของเราคือคุณค่าคือมรดกตกทอดมาจากรุ่นสู่รุ่น กว่าจะสร้างเอกลักษณ์ของชาติได้นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย เราในฐานะเป็นลูกหลายควรอนุรักษ์สืบไป



ผ้ามัดหมี่ไทย

      ผ้ามัดหมี่ คือ ผ้าที่ทอจากด้ายหรือไหมที่ผูกมัดแล้วย้อมโดยการคิดผูกให้เป็นลวดลาย แล้วนำไปย้อมสีก่อนทอ เป็นศิลปะการทอผ้าพื้นเมืองชนิดหนึ่งที่นิยมทำกันมานานแล้ว โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย ในภาคกลางบางจังหวัด อาทิ จังหวัดชัยนาท จังหวัดอุทัยธานี จังหวัดสุพรรณบุรี จังหวัดกาญจนบุรี จังหวัดลพบุรี ภาคเหนือมีการทอที่จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดน่าน เป็นต้น
      
  กระบวนการทำผ้ามัดหมี่นั้น ในขั้นตอนการสร้างลวดลายจะต้องนำเส้นใยฝ้ายหรือเส้นใยไหมไปค้นลำหมี่ให้ได้ตามจำนวนที่เหมาะสมกับลวดลาย แล้วจึงนำไปขึงเข้ากับ โฮงหมี่โดยจะใช้เชือกมัดส่วนที่ไม่ต้องการให้ติดสี เรียกว่าการ โอบในอดีตใช้เชือกกล้วย ต่อมานิยมใช้เชือกฟางพลาสติก การมัด จะต้องมัดให้แน่นตามลวดลายที่กำหนดไว้แล้วนำไปย้อมสีจากนั้นตากแดดให้แห้ง เมื่อนำมาแก้เชือกออกจะเห็นส่วนที่มัดไว้ไม่ติดสีที่ย้อม หากต้องการให้ลวดลายมีหลาย

สี จะต้องมัดโอบอีกหลายครั้งตามความต้องการ ตำแหน่งที่มัดให้เกิดลวดลายนั้น จะต้องอาศัยทักษะเชิงช่างที่ชำนาญและแม่นยำเพราะช่างมัดหมี่ของประเทศไทยไม่ได้มีการขีดตำแหน่งลวดลายไว้ก่อนแบบประเทศอื่นๆ ตำแหน่งการมัดลวดลาย จึงอาศัยการจดจำและสั่งสมจากประสบการณ์ 
       ในกระบวนการทอช่างทอผ้ามัดหมี่จะต้องระมัดระวัง ทอผ้าตามลำดับของหลอดด้ายมัดหมี่ที่ร้อยเรียงลำดับไว้ให้ถูกต้อง และจะต้องใช้ความสามารถในการปรับจัดลวดลายที่เหลื่อมลํ้ากันที่เกิดจากกระบวนการย้อมสีให้ออกมาสวยงาม กลวิธีการทอผ้ามัดหมี่จึงเป็นภูมิปัญญาด้านงานช่างฝีมือดั้งเดิมที่ต้องอาศัยทักษะเชิงช่างชั้นสูงลวดลายมัดหมี่ที่มีการสืบทอดต่อกันมาตั้งแต่โบราณนั้นส่วนใหญ่ได้แรงบันดาลใจจากธรรมชาติสิ่งแวดล้อมในวิถีชีวิตความเชื่อและขนบธรรมเนียมประเพณี อาทิ ลายดอกแก้วลายต้นสน ลายโคมห้า ลายโคมเจ็ด ลายบายศรี ลายกวาง ลายนกยูง ลายเต่า ลายพญานาค ฯลฯ
       ผ้ามัดหมี่มีบทบาทในวิถีชีวิตตั้งแต่เกิดจนตาย หญิงสาวต้องทอผ้าเพื่อทำเป็นเครื่องนุ่งห่ม วัสดุเส้นใยทั้งฝ้ายและไหมบ่งบอกถึงศักยภาพทางการค้า เพราะเป็นวัสดุที่ใช้แลกเปลี่ยนซื้อขายมาแต่โบราณ ส่วนวัสดุย้อมสีธรรมชาติสะท้อนให้เห็นถึงความอุดมสมบูรณ์ของพันธุ์พืชในประเทศไทยที่มีความหลากหลาย ซึ่งช่วยให้ผ้ามัดหมี่   ไทยมีสีสันเฉพาะตัว และยังสะท้อนไปถึงความเชี่ยวชาญของแต่ละกลุ่มชนในการย้อมสีธรรมชาติ
     ปัจจุบัน การถ่ายทอดความรู้ด้านการผลิตผ้ามัดหมี่ยังคงมีอยู่บ้างตามชนบท แต่เยาวชนรุ่นใหม่ที่ตั้งใจสืบทอดการทอผ้ามีจำนวนลดลง และหลายชุมชนก็ไม่สามารถสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้ามัดหมี่ไว้ได้ จึงจำเป็นที่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกันอนุรักษ์และสืบสานให้มรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมแขนงนี้คงอยู่สืบไป

ประวัติศาสตร์สิ่งทอในประเทศไทย

            สิ่งทอมีความสัมพันธ์กับชาวไทยมาช้านาน ผ้าไทยมีความสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรม ความเชื่อ สังคมและเศรษฐกิจมาตลอด การทอผ้าในชุมชนเหมือนเป็นการถ่ายทอดวิถีชีวิต ทักษะและศิลปะ จากรุ่นต่อรุ่นเสมอมา

          ผ้าพื้นเมือง
            โดยทั่วไปผ้าพื้นเมืองใช้วัสดุหลักในการทอได้แก่ไหมกับฝ้าย เนื่องจากเป็นวัสดุที่หาและปลูกได้ง่ายตามท้องถิ่น อาจมีเส้นดิ้นเงินหรือทองประกอบลวดลาย ผ้าเหล่านี้ไม่มีเอกสารเป็นลายลักษณ์อักษร แต่มีหลักฐานคือตัวชิ้นงามเอง ซึ่งบันทึกประวัติศาสตร์ท้องถิ่นไว้
            ลวดลายบนผ้าทอของไทยมาจากสิ่งแวดล้อมรอบตัวที่เห็นได้ในชีวิตประจำวัน เช่น สถาปัตยกรรม ดอกไม้และพืชผล บางครั้งเกิดจากความสร้างสรรค์ของผู้ทอเอง ชื่อจึงหลากหลายไปขึ้นอยู่กับผู้ทอ

อุตสาหกรรมสิ่งทอ

         สุโขทัย
            สิ่งทอใช้เพื่อนุ่งห่มส่วนตัวและสำหรับคนในครอบครัว อาจมีเหลือพอแบ่งปัน การผลิตเพื่อขายในปริมาณมากยังไม่มี ผ้ามีความเรียบง่ายไม่ซับซ้อน มีเพียงขุนนางหรือคนในวังเท่านั้นที่จะใช้
         อยุธยา
            มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับต่างประเทศมากขึ้น วัตถุดิบและสินค้าที่เกี่ยวข้องจึงมีมากขึ้นด้วย ผ้าที่เป็นที่นิยมทั่วไปคือ ผ้าไหมและผ้าฝ้าย
         รัตนโกสินทร์
            การเปลี่ยนแปลงด้านการผลิตสิ่งทอเห็นได้ชัดเจนในสมัย ร.4 สนับสนุนให้มีการแต่งตัวตามชาตินิยม จึงเกิดร้านผ้าที่มีสินค้าต่างชาติจำนวนมาก จนกระทั่ง ร.5 ได้จัดตั้งกรมช่างไหมขึ้นเป็นจุดริเริ่มของการนำเครื่องจักรทอผ้าและปั้นด้ายมาใช้แทนคน ส่วนใหญ่เครื่องจักรก็นำเข้ามาจากจีน
            โรงงานทอผ้าที่ทันสมัยได้เกิดขึ้นเป็นครั้งแรก โรงงานนี้ชื่อว่า โรงงานฝ้ายสยาม โดยผู้ดำเนินการคือกระทรวงกลาโหมและใช้ในงานของทหารบก

 กระบวนการผลิตไหมมัดหมี่

           ต้นหม่อน
            มีความสำคัญต่อการเลี้ยงไหมอย่างมากเพราะใบหม่อนเป็นอาหารอย่างเดียวของตัวหนอนไหม จึงต้องมีการปลูกและดูแลต้นหม่อนให้เกิดใบ ต้นหม่อนเป็นพืชที่ขึ้นง่ายและเติบโตได้โดยไม่ต้องอาศัยน้ำมากนัก ถ้าเริ่มปลูกต้นฤดูฝนต้นหม่อนจะสามารถมีชีวิตอยู่ตลอดไปแม้ในฤดูแล้ง
            ตัวไหม
            เริ่มเลี้ยงกันตั้งแต่ยังตัวเล็กๆ จนเติบโตเป็นตัวหนอนไหมวัยอ่อนและแก่ ตัวไหมนั้นเป็นตัวหนอนของแมลงจำพวกผีเสื้อชนิดหนึ่งที่เมื่อถึงวัยจะผลิตใยไหมออกมาห่อหุ้มตัวเป็นรัง ไหมที่ชาวบ้านทั่วๆไปเลี้ยงเป็นไหมที่สามารถฟักได้ตลอดทั้งปี เมื่อตัวหนอนเติบโตจะมีสีขาวนวลและเมื่อแก่ขึ้นก็จะมีสีเหลือง
           
            สาวไหม
            การเลี้ยงไหมตั้งแต่เป็นไข่จนกระทั่งเป็นตัว ใช้ระยะเวลาประมาณ 45 วัน ต่อจากนั้นนำรังไหมมาต้มเพื่อสาวไหมให้เป็นเส้นไหม นำไหมใส่หม้อต้มกับน้ำรอจนน้ำเดือดแล้วจึงสาวไหมขึ้นมาลอดรูไม้แบนที่วางบนปากหม้อต้ม สาวขึ้นมาพันกันเป็นรอกลงภาชนะที่รองรับอยู่ ส่วนอีกมือถือไม้ที่เรียกว่า ไม่ขืนคอยกดและเขย่ารังไหมไม่ให้พันและแน่นจนเกินไป


           ไจไหม
            นำเส้นไหมที่สาวแล้วมาทำเป็นไจหรือที่เรียกว่า เปียในภาษาชาวบ้าน เส้นไหมที่ได้มาจะมีสีเหลืองเรียกว่าไหมดิบและมีเส้นแข็ง
           ฟอกไหม
            ต้องนำไหมดิบที่ได้ไปฟอกให้นิ่มและกลายเป็นสีขาว แต่ไม่ได้ใช้สารเคมีแต่ใช้ของที่อยู่ใกล้ๆตัว เช่น กาบกล้วย งวงตาล ฝักหรือเปลือกเพกา ฯลฯ นำอย่างใดอย่างหนึ่งไปฝานให้บางนำไปตากแดด
แล้วนำไปเผาจนมอดเป็นขี้เถ้า นำขี้เถ้าไปแช่น้ำแล้วรอให้ตกตะกอน จากนั้นรินน้ำที่ตกตะกอนออกมาเป็นน้ำด่างนำไหมมาแช่และต้องทุบไหมเพื่อให้น้ำซึมเข้าไปได้ง่ายขึ้น พอได้อย่างที่ต้องการแล้วก็นำไปตากแดดให้แห้ง ต้องระวังการดึงไหมไม่ให้พันกันอย่างมาก และนำไหมไปตีเกลียวเพื่อควบเส้นไหมให้เป็น 2 หรือ 4 เส้นบางครั้งก็นำมาย้อมสีแรกก่อน จึงนำไปพันหลักหมี่เพื่อเตรียมมัดต่อไป

            มัด
            นำเส้นไหมที่พร้อมแล้วมาพันหลักหมี่ที่มีลักษณะเป็นไม้กลมสองด้านตรงข้ามกันความห่างเท่ากับหน้าผ้าที่ต้องการทอ แล้วใช้เชือกฟางหรือเชือกกล้วยมัดเป็นตอนๆเพื่อไม่ให้สีส่วนนั้นติดเส้นไหม โดยผู้มัดใช้จินตนาการในการสร้างลวดลายโดยไม่มีการร่าง

            ย้อม
            นำเส้นไหมที่มัดเป็นตอนๆเสร็จแล้วไปย้อมสี อาจจะต้องผ่านการมัดย้อมหลายรอบแล้วแต่ความยากง่ายของลวดลายและจำนวนสีที่มีบนผ้า




            กรอ
            เสร็จจากการย้อมแล้วตัดเชือกมัดออก นำเส้นไหมมากรอใส่หลอดโดยต้องระวังเรียงลำดับให้ถูก ไม่อย่างนั้นผ้าที่ทออกมาจะมีตำหนิ มีรอยต่อ ลายสูงต่ำไม่เท่ากัน หรืออาจกลายเป็นลายอื่นโดยไม่ตั้งใจ
            เส้นไหมยืน
            ที่กล่าวไปเมื่อกี้เป็นเส้นไหมพุ่ง เส้นไหมยืนจะเป็นความยาวของผืนผ้านั้น สามารถนำไปย้อมได้เลยโดยไม่ต้องผ่านการมัดแล้วนำมากรอเข้าหลอด หมีและเข้าฟืม นำขึ้นกี่ทอผ้าได้เลยหรืออีกชื่อที่เรียกว่า หูก




            ทอ
            การทอผ้ามัดหมี่ต้องใช้ความพิถีพิถันมากเมื่อกระสวยพุ่งไปแต่ละครั้ง ก็ต้องตรวจดูว่าตรงกับดอกลายที่มัดไว้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ต้องจัดให้ตรงก่อนจะทอต่อไปได้

ผ้ามัดหมี่

            มีกรรมวิธีการทอผ้าให้เกิดลวดลายโดยการย้อมเส้น และทอเป็นหลักโดยย้อมจะมัดไหมหรือฝ้ายเป็นท่อนๆ เพื่อให้สีไม่ติดทั้งเส้น การทอมัดหมี่แต่ละผืนต้องอาศัยความอดทนอย่างมาก ต้องเรียงลำดับเส้นไหมหรือฝ้ายให้สม่ำเสมอเพื่อให้เกิดลวดลายที่สวยงามและถูกต้อง ลวดลายก็จำสืบต่อมาจากบรรพบุรุษ

ผ้าทอมีความสำคัญ 3 ประการ
            1.เพื่อสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานของการดำรงชีวิต
           2.เป็นเครื่องแสดงฐานะs
           3.เพื่อแสดงถึงการแบ่งหน้าที่ระหว่างหญิงและชาย

ประโยชน์ของผ้า
            1.ผ้าสำหรับนุ่ง
            2.ผ้าสำหรับห่ม
            3.ผ้าที่ใช้ในพิธีกรรมทางศาสนา
ผ้ามัดหมี่ไทย วิชาcom226 สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์
ผลงานนี้ ใช้สัญญาอนุญาตของครีเอทีฟคอมมอนส์แบบ แสดงที่มา-อนุญาตแบบเดียวกัน 4.0 International.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น